ความเป็นมา


             นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า ในเขตพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ แต่เดิมได้มีชุมชนอาศัยอยู่ มาอย่างเนิ่นนานกว่า 2,000 ปี ซึ่งพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ ตั้งแต่ยุคโลหะตอนปลาย อาณาเขตติดกับอาณาจักรยุคขอมโบราณ เมื่ออาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลง จนกระทั่งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. 2260 ได้มีชาวพื้นเมืองที่เรียกตัวเองว่า ส่วยหรือกูย ซึ่งมีความสารถในการจับช้างป่ามาเลี่ยงไว้ใช้งาน ได้อาศัยอยู่ในแคว้นจำปาศักดิ์ ซึ่งเป็นดินแดนของไทยในขณะนั้น ได้อพยบข้ามลำน้ำโขงมาสู่ฝั่งขวา และได้แยกย้ายกันตั้งเป็นชุมชนต่างๆ ในเขตพื้นที่นี้         
          ต่อมาในปี พ.ศ.2303 หัวหน้าชาวกูยในพื้นที่ ได้ช่วยขุนนางในราชสำนักคล้องช้างเผือกแตกโรงหนีมาจากกรุงศรีอยุทธยากลับไปได้ และได้รับราชการกับราชสำนักจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสุรินทร์ภักดีหรือเชียงปุม และยกพื้นที่นี้ขึ้นเป็นเมือง(บ้านเมืองที) ต่อมาในปี พ.ศ. 2306 เมืองได้ย่ายมาตั้งอยู่บ้านคูประทาย ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันและถูกตั้งขึ้นเป็นเป็นเมืองประทายสมันต์หลวงสุรินทร์ภักดีได้รับการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง และในปี พ.ศ.2329 พระบาทสมเด็จประพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองจาก เมืองประทายสมันต์ เป็นเมืองสุรินทร์จนถึงปัจจุบัน